วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2559

นินจานารูโตะ หรือ นารูโตะ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ นารูโตะ

นินจานารูโตะ หรือ นารูโตะ นินจาจอมคาถา หรือ นารุโตะ (ญี่ปุ่น: ナルト Naruto ?) เป็น การ์ตูนญี่ปุ่น เนื้อหาเกี่ยวกับนินจา เรื่องและภาพโดย มะซะชิ คิชิโมะโตะ ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2542 ในนิตยสาร "โชเนนจัมป์" ในประเทศญี่ปุ่น[7] โดยมีโครงเรื่องเดิมมาจากผลงานที่คิชิโมโตะเคยเสนอให้สำนักพิมพ์ในปี 2540[8] ต่อมาได้ถูกสร้างเป็น อะนิเมะ และ เกม หลายต่อหลายภาค

ส่วนในประเทศไทย นารูโตะ นินจาจอมคาถาได้ถูกตีพิมพ์ในหนังสือการ์ตูนรายสัปดาห์ "บูม" ภายใต้ลิขสิทธิ์ของบริษัท "เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์" ส่วนหนังสือการ์ตูนมีทั้งหมด 72 เล่ม ส่วนภาคอะนิเมะในชื่อไทยมี 2 ภาค คือ "นารูโตะ นินจาจอมคาถา" และ "นารูโตะ ตำนานวายุสลาตัน" เป็นลิขสิทธิ์ของ "โรส วิดีโอ" และเคยออกฉายทาง สถานีโทรทัศน์ไอทีวี (ไทยพีบีเอส ในปัจจุบัน) และ ช่อง5 "นารูโตะ นินจาจอมคาถา" มีภาคมูฟวี่ 3 ภาค และ "นารูโตะ ตำนานวายุสลาตัน" มีภาคมูฟวี่ 8 ภาค และมีการฉายฉบับเสียงพากย์ภาษาไทย - อังกฤษผ่านทางช่องการ์ตูนเน็ตเวิร์ก (ทรูวิชั่นส์) โดยจะเรียกชื่อเรื่องว่า นารูโตะ และใช้ทีมพากย์ภาษาไทยของทาง การ์ตูนเน็ตเวิร์ก เอง และช่องรายการดาวเทียม "Gang Cartoon Channel" ทีมพากษ์โรส วิดีโอ

SOMKIAT - ขอวอน 2 | TOGETHER II [Official MV]

SOMKIAT - ขอวอน 2 | TOGETHER II [Official MV]

ช่างมัน - COCKTAIL「Official MV」

                         ช่างมัน - COCKTAIL「Official MV」

อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย จังหวัดนครราชสีมา
อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย เป็นหนึ่งในอุทยานประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ที่ตั้งอยู่ในตัวอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วยปราสาทหินในสมัยอาณาจักรขอมที่ใหญ่โตและงดงาม สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ราวพุทธศตวรรษที่ 16 เพื่อใช้เป็นเทวสถานของศาสนาพราหมณ์

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย


อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ครอบคลุมพื้นที่โบราณสถานกรุงสุโขทัย ศูนย์กลางการปกครองของอาณาจักรสุโขทัยซึ่งมีอำนาจอยู่บริเวณภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18-19 ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า (เขตเทศบาลตำบลเมืองเก่า) อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัยห่างจากตัวเมืองสุโขทัยปัจจุบัน (เขตเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี) ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 12 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (ถนนจรดวิถีถ่อง)
ผังเมืองสุโขทัยมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความยาวประมาณ 2 กิโลเมตร กว้างประมาณ 1.6 กิโลเมตร มีประตูเมืองอยู่ตรงกลางกำแพงเมืองแต่ละด้าน ภายในยังเหลือร่องรอยพระราชวังและวัดอีก 26 แห่ง วัดที่ใหญ่ที่สุดคือวัดมหาธาตุ อุทยานแห่งนี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์โดยกรมศิลปากรด้วยความช่วยเหลือจากองค์การยูเนสโก มีผู้เยี่ยมชมหลายแสนคนต่อปี ซึ่งสามารถเดินเท้าหรือขี่จักรยานเที่ยวชมได้
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยได้รับการประกาศคุ้มครองครั้งแรกตามประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 92 ตอนที่ 112 ลงวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2504 ต่อมาในปี พ.ศ. 2519 โครงการฟื้นฟูอุทยานแห่งนี้ก็ได้รับการอนุมัติ และเปิดอย่างเป็นทางการในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2531 โดยในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2534[ต้องการอ้างอิง] องค์การยูเนสโกได้ประกาศให้อุทยานแห่งนี้เป็นแหล่งมรดกโลกร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์ที่กำแพงเพชรและศรีสัชนาลัยภายใต้ชื่อว่า "เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร" (Historic Town of Sukhothai and Associated Historic Towns)